เตือนสังคมก้มหน้า 'โรคนิ้วล็อก' อันตรายใกล้ตัว น่ากลัวกว่าที่คิด
เพราะความสะดวกจากการใช้สมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตในปัจจุบัน ที่คนส่วนใหญ่ใช้เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสาร ทำงาน และให้ความบันเทิง แพทย์เตือนพิมพ์เยอะส่งผลกระทบต่อเส้นเอ็น หากอาการหนักอาจถึงขั้นต้องผ่าตัดรักษา...
เวลานี้...หันไปทางไหนก็เจอแต่คนก้มหน้าก้มตาสนใจหน้าจอส่วนบุคคล ทั้งสมาร์ทโฟน ทั้งแท็บเล็ตยอดดวงใจ ระดมกด ระดมจิ้ม ฝึกพลังนิ้วมือกันแบบไม่มีใครยอม (สนใจ) ใคร ทั้งแชต ท่องโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก และเล่นเกม ซึ่งเชื่อว่าคนส่วนใหญ่น่าจะเคยได้ยินคำเตือนเรื่องนิ้วล็อกกันมาบ้างแล้ว และแม้ว่ารู้ทั้งรู้ว่าการจดๆ จิ้มๆ สไลด์หน้าจอไปมาจะสุ่มเสี่ยงโรค แต่ทุกคนก็ยังเต็มใจทำแบบไม่แคร์! ต่อโรคภัย ที่กำลังรอรุมทึ้งร่างกาย
วันนี้เราเลยจะมาย้ำถึงโทษและโรคภัยที่อาจเกิดขึ้น จากพฤติกรรมของคนเสพติดเทคโนโลยี เพื่อย้ำเตือนทุกท่านอีกครั้ง...
"จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าการเสพติดสมาร์ทโฟน เป็นปัจจัยเกิดโรคเส้นเอ็นนิ้วโป้งอักเสบ" นายแพทย์ภัทร จุลศิริ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อทั่วไป โรงพยาบาลเวชธานี กล่าว พร้อมอธิบายต่อไปว่า อันดับแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเส้นเอ็นของคนเราจะถูกหุ้มด้วยปลอกหุ้มเส้นเอ็น (A1 pulley) เหมือนกับสายไฟในท่อร้อยสายไฟ เมื่องอหรือเหยียดนิ้ว เส้นเอ็นจะขยับอยู่ในปลอกหุ้ม ซึ่งการเล่นเกม แชต หรือกดหน้าจอสมาร์ทโฟนที่ค่อนข้างเล็กบ่อยๆ จะทำให้นิ้วโป้งมีการงอมากกว่าปกติ และยังเกิดการเสียดสีระหว่างปลอกหุ้มกับเส้นเอ็นจนอักเสบ บวม ทำให้เอ็นผ่านปลอกหุ้มได้ไม่สะดวก ก่อให้เกิดอาการปวดบริเวณที่โคนนิ้วโป้ง หรือหากเป็นมากก็อาจเกิดนิ้วล็อก เหยียดไม่ออกในที่สุด
ผู้หญิงเป็นเยอะกว่า!
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อทั่วไป ยังอธิบายอีกว่า โรคดังกล่าวมักจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบในกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวต่างๆ หรือคนที่งอนิ้วบ่อยๆ เป็นระยะเวลานาน เช่น พิมพ์งาน, หิ้วถุงใส่ของ, หรือกำมือหยิบของ เป็นต้น
ปวดโคนนิ้ว เหยียดนิ้วไม่สุด ต้องรีบพบแพทย์
สำหรับอาการที่กลุ่มคนเหล่านี้จะมาพบแพทย์ คือ ปวดบริเวณโคนนิ้วด้านในฝ่ามือ มีอาการนิ้วสะดุดหรืองอเหยียดนิ้วได้ไม่สุด มีอาการปวดช่วงเช้าและจะดีขึ้นเมื่อขยับมือสักพัก ในการรักษาโรคดังกล่าวแพทย์ต้องประเมินก่อนว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะใดของอาการ แค่การอักเสบ หรือถึงขั้นเป็นโรคนิ้วล็อกแล้ว
หากเป็นมากต้องผ่าตัด! สถานเดียว
แพทย์จะเริ่มต้นการรักษาด้วยการให้หยุดพักการใช้งานนิ้วมือ ร่วมกับการทานยาต้านการอักเสบของเส้นเอ็นหรือยาแก้ปวด และการกายภาพเอ็นข้อนิ้ว โดยใช้หนังยางหนาใส่นิ้วและถ่างออก โดยทำอย่างน้อยวันละ 30-60 รอบ หากอาการยังไม่ดีขึ้น อาจต้องฉีดยาลดการอักเสบสเตียรอยด์ หรือต้องเข้ารับการผ่าตัดขยายปลอกหุ้มเส้นเอ็น เพื่อทำให้เอ็นเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และพยายามหลีกเลี่ยงการเล่นสมาร์ทโฟนที่บ่อยเกินไป
รู้แบบนี้แล้วก็เงยหน้าสู่สังคมแท้จริงกันให้มากขึ้น เพลาการกดการจิ้มสารพัดจอในมือลงไปหน่อย ไม่ใช่ประโยชน์ของใคร สุขภาพของคุณเอง...!
ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/421659
เวลานี้...หันไปทางไหนก็เจอแต่คนก้มหน้าก้มตาสนใจหน้าจอส่วนบุคคล ทั้งสมาร์ทโฟน ทั้งแท็บเล็ตยอดดวงใจ ระดมกด ระดมจิ้ม ฝึกพลังนิ้วมือกันแบบไม่มีใครยอม (สนใจ) ใคร ทั้งแชต ท่องโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก และเล่นเกม ซึ่งเชื่อว่าคนส่วนใหญ่น่าจะเคยได้ยินคำเตือนเรื่องนิ้วล็อกกันมาบ้างแล้ว และแม้ว่ารู้ทั้งรู้ว่าการจดๆ จิ้มๆ สไลด์หน้าจอไปมาจะสุ่มเสี่ยงโรค แต่ทุกคนก็ยังเต็มใจทำแบบไม่แคร์! ต่อโรคภัย ที่กำลังรอรุมทึ้งร่างกาย
วันนี้เราเลยจะมาย้ำถึงโทษและโรคภัยที่อาจเกิดขึ้น จากพฤติกรรมของคนเสพติดเทคโนโลยี เพื่อย้ำเตือนทุกท่านอีกครั้ง...
"จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าการเสพติดสมาร์ทโฟน เป็นปัจจัยเกิดโรคเส้นเอ็นนิ้วโป้งอักเสบ" นายแพทย์ภัทร จุลศิริ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อทั่วไป โรงพยาบาลเวชธานี กล่าว พร้อมอธิบายต่อไปว่า อันดับแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเส้นเอ็นของคนเราจะถูกหุ้มด้วยปลอกหุ้มเส้นเอ็น (A1 pulley) เหมือนกับสายไฟในท่อร้อยสายไฟ เมื่องอหรือเหยียดนิ้ว เส้นเอ็นจะขยับอยู่ในปลอกหุ้ม ซึ่งการเล่นเกม แชต หรือกดหน้าจอสมาร์ทโฟนที่ค่อนข้างเล็กบ่อยๆ จะทำให้นิ้วโป้งมีการงอมากกว่าปกติ และยังเกิดการเสียดสีระหว่างปลอกหุ้มกับเส้นเอ็นจนอักเสบ บวม ทำให้เอ็นผ่านปลอกหุ้มได้ไม่สะดวก ก่อให้เกิดอาการปวดบริเวณที่โคนนิ้วโป้ง หรือหากเป็นมากก็อาจเกิดนิ้วล็อก เหยียดไม่ออกในที่สุด
ผู้หญิงเป็นเยอะกว่า!
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อทั่วไป ยังอธิบายอีกว่า โรคดังกล่าวมักจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบในกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวต่างๆ หรือคนที่งอนิ้วบ่อยๆ เป็นระยะเวลานาน เช่น พิมพ์งาน, หิ้วถุงใส่ของ, หรือกำมือหยิบของ เป็นต้น
ปวดโคนนิ้ว เหยียดนิ้วไม่สุด ต้องรีบพบแพทย์
สำหรับอาการที่กลุ่มคนเหล่านี้จะมาพบแพทย์ คือ ปวดบริเวณโคนนิ้วด้านในฝ่ามือ มีอาการนิ้วสะดุดหรืองอเหยียดนิ้วได้ไม่สุด มีอาการปวดช่วงเช้าและจะดีขึ้นเมื่อขยับมือสักพัก ในการรักษาโรคดังกล่าวแพทย์ต้องประเมินก่อนว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะใดของอาการ แค่การอักเสบ หรือถึงขั้นเป็นโรคนิ้วล็อกแล้ว
หากเป็นมากต้องผ่าตัด! สถานเดียว
แพทย์จะเริ่มต้นการรักษาด้วยการให้หยุดพักการใช้งานนิ้วมือ ร่วมกับการทานยาต้านการอักเสบของเส้นเอ็นหรือยาแก้ปวด และการกายภาพเอ็นข้อนิ้ว โดยใช้หนังยางหนาใส่นิ้วและถ่างออก โดยทำอย่างน้อยวันละ 30-60 รอบ หากอาการยังไม่ดีขึ้น อาจต้องฉีดยาลดการอักเสบสเตียรอยด์ หรือต้องเข้ารับการผ่าตัดขยายปลอกหุ้มเส้นเอ็น เพื่อทำให้เอ็นเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และพยายามหลีกเลี่ยงการเล่นสมาร์ทโฟนที่บ่อยเกินไป
รู้แบบนี้แล้วก็เงยหน้าสู่สังคมแท้จริงกันให้มากขึ้น เพลาการกดการจิ้มสารพัดจอในมือลงไปหน่อย ไม่ใช่ประโยชน์ของใคร สุขภาพของคุณเอง...!
ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/421659
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น